สภาพทั่วไป
ตำบลบ้านแมด เป็นตำบลหนึ่งใน 8 ตำบลของ อำเภอบุณฑริก ได้รับการประกาศจากกระทรวงมหาดไทย แยกเขตการปกครองเป็น "ตำบลบ้านแมด" มีผลเมื่อปี พ.ศ. 2530 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี เดิมมีหมู่บ้านในเขตการปกครอง จำนวน 8 หมู่บ้าน และเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลง จึงได้แบ่งการปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน และได้รับยกฐานะจากสภาตำบลบ้านแมด เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแมด เมื่อปี พ.ศ. 2539 โดย องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแมด ตั้งอยู่ที่ ถนนสาย ดอนจิก-โนนเลียง เลขที่ 97 หมู่ที่ 2 บ้านบกเจริญ ตำบลบ้านแมด อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ห่างจาก จังหวัดอุบลราชธานี ไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 105 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก อำเภอบุณฑริก ไปทางทิศเหนือ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร
เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแมด มีเนื้อที่ ทั้งหมด 96 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 60,000 ไร่
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ โนนกาหลง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลตำบลหนองสะโน ตำบลคอแลน และเขื่อนสิรินธร อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะภูมิเทศ
ภูมิเทศโดยทั่วไปของตำบลบ้านแมด เป็นพื้นที่ราบ มีลำห้วยไหลผ่าน คือ ห้วยแถลง ห้วยแท่น ห้วยขาม และห้วยโดด มีถนนสายหลักของตำบล คือ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2172 (สายดอนจิก – โนนเลียง) โดยผ่านเขตพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านนาแคน, หมู่ที่ 2 บ้านบกเจริญ, หมู่ที่ 4 บ้านแมด, และ หมู่ที่ 6 บ้านหนองขามใหญ่
เขตการปกครอง
เขตพื้นที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแมด มีหมู่บ้านในเขตปกครอง ทั้งหมด 12 หมู่บ้าน เต็มส่วนทั้ง 12 หมู่บ้าน
ประชากร
ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตำบลบ้านแมด มีประชากรรวม ทั้งสิ้น 8,614 คน เป็นชาย 4,392 คน และหญิง 4,222 คน จำนวน 2,526 หลังคาเรือน ดังนี้
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ชาย | หญิง | รวม | บ้าน |
---|---|---|---|---|---|
1 | หาดทรายคูณ | 193 | 194 | 387 | 167 |
2 | บกเจริญ | 306 | 302 | 608 | 175 |
3 | นาแคน | 509 | 487 | 996 | 319 |
4 | แมด | 490 | 473 | 963 | 280 |
5 | โนนสมบูรณ์ | 471 | 439 | 910 | 288 |
6 | หนองขามใหญ่ | 249 | 235 | 484 | 138 |
7 | โนนกาหลงน้อย | 167 | 174 | 341 | 101 |
8 | หาดใต้ | 484 | 449 | 933 | 255 |
9 | หาดใหม่พัฒนา | 457 | 476 | 933 | 267 |
10 | นาแคนพัฒนา | 375 | 377 | 752 | 268 |
11 | หาดเหนือ | 313 | 284 | 597 | 145 |
12 | ดอนโจด | 378 | 332 | 710 |
123 |
รวม | 4,392 | 4,222 | 8,614 | 2,526 |
ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี (ข้อมูล ณ เดือน 29 กันยายน พ.ศ. 2566)
ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่ตำบลบ้านแมด อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบ Tropical Savanha : “Aw” ตามระบบจำแนกประเภท ภูมิอากาศของ Koppen คือ มีช่วงความแตกต่างของฤดูฝน และฤดูแล้ง อย่างชัดเจน มีช่วงกลางวันยาวในฤดูร้อน และมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงตลอดปี อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (มรสุมฤดูหนาว และฤดูแล้ง) และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (มรสุมฤดูร้อน และฤดูฝน)
ลักษณะฤดูกาลโดยปกติตามมาตรฐานภูมิศาสตร์สากล จะมีเพียงฤดูเดียว คือ ฤดูร้อน ทั้งร้อนชื้น และร้อนแห้งแล้ง แต่ถ้าจำแนกตามภูมิศาสตร์ของภูมิภาค สามารถแบ่งได้ 3 ฤดูกาล ดังนี้
ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม และมักปรากฏเสมอว่า ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม แต่ระยะทิ้งช่วง จะไม่เหมือนกันในแต่ละปี ซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนมักจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านหรือเข้าใกล้ ทำให้มีฝนตกชุก บางปีอาจเกิดภาวะน้ำท่วม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ถึง กลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยอุณหภูมิจะลดลง ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมเป็นต้นไป และจะหนาวมากในช่วง ปลายเดือนธันวาคม ถึง เดือนมกราคม ในฤดูนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดเอาความหนาวเย็นและแห้งเข้ามาปกคลุม
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะเริ่มร้อนขึ้นตามลำดับ และอาจมีฝนตกบ้างเป็นบางวันแต่ปริมาณไม่มากนัก ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ในฤดูนี้มักจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง
การคมนาคม
การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์สามารถใช้เส้นทางหลวงแผ่นดิน, ทางหลวงจังหวัด และถนนท้องถิ่น เป็นเส้นทางติดต่อภายในตำบลบ้านแมด ได้อย่างสะดวกสบาย มีรถยนต์โดยสารประจำทางให้บริการ โดยมีระยะทางจากจังหวัดอุบลราชธานี ถึงตำบลบ้านแมด ประมาณ 105 กิโลเมตร
การสาธารณสุข
ตำบลบ้านแมด มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแมด จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บ้านหนองขามใหญ่ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านแมด
ไฟฟ้า
ตำบลบ้านแมด เป็นชุมชนชนบท ระบบการไฟฟ้าขยายทั่วถึงทั้งตำบล ประชากรมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือนทำให้ประชาชนมีสิ่งอำนวยความสะดวก คือมีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เกือบทุกครัวเรือน
ประปา
ตำบลบ้านแมด มีประปาผิวดินขนาดกลาง และระบบประปาหมู่บ้าน ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการบริการด้านการประปาจาก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแมด จำนวน 1,847 ครัวเรือน และอีกบางส่วนได้รับการบริการจากกรมอนามัย
การประกอบอาชีพ
ประชากรในตำบลบ้านแมด ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวนยาง การทำประมงขนาดเล็กเป็นอาชีพเสริม และรับจ้างทั่วไป
การศาสนา
ประชาชนในตำบลบ้านแมด นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีศาสนสถาน จำนวน 10 แห่ง